Review- The Last of Us Part II Remastered การปัดฝุ่นทิพย์ ที่พอดิบกับราคาสิบเหรียญ


เรตเกม PEGI: 18 เหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
เพื่อปลุกกระแสต้อนรับซีรีส์หนังคนแสดงซีซั่นสองที่จะออกฉายในช่วงปลายปี 2024 แถมต้องเว้นช่วงระยะห่างจากเวอร์ชันพีซีมิให้ออกชิดติดกันจนเกินไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องราวของสาววัยรุ่นเลือดร้อนถึงได้ถูกคืนชีพลงบนคอนโซลรุ่นใหม่อย่างไวหลังผ่านไปแค่ 3 ปี

สำหรับ The Last of Us Part II Remastered ชื่อก็บ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่านี่มิใช่การรีเมคสร้างใหม่แต่อย่างใด ดังนั้นในส่วนของเนื้อหาแคมเปญหลักจะยังคงเหมือนกับตัวเกมภาคต้นฉบับทุกประการ โดยเรื่องราวคร่าวๆของมันจะติดตามการผจญภัยของ “เอลลี่” (Ellie) ตัวละครเอกหญิงผู้โตเป็นสาวเต็มวัยที่ต้องออกเดินทางตามล่าล้างแค้นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้ก่อเหตุโศกนาฏกรรมร้ายแรงจนเธอและเหล่าแฟนเกมทั่วโลกมิอาจทนรับมันได้ จึงบีบบังคับให้เธอต้องมุ่งเดินไปบนถนนเส้นทางแห่งความเคียดแค้นชิงชังจองเวรจองกรรมชนิดผีไม่ต้องเผาเงาไม่ต้องเหยียบ ยากที่จะรู้จักกับคำว่า 'ให้อภัย'
อย่างที่เกริ่นไป เนื่องจากตัวเกมภาคต้นฉบับออกมาในช่วงท้ายปลายยุค เพลย์สเตชัน 4 ในขณะที่ตัวเกมภาครีมาสเตอร์นั้นเพิ่งออกมาในช่วงต้นยุค เพลย์สเตชัน 5 สิ่งที่พอรู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่คงมีเพียงลูกเล่นฟีเจอร์บนตัวคอนโทรลเลอร์อย่าง Adaptive Trigger แรงต้านเวลาเหนี่ยวไก และระบบสั่น Haptic Feedback ที่ถูกใส่เพิ่มเข้ามาในฉากคัตซีน-เกมเพลย์ บวกกับฉากโหลดในช่วงสตาร์ทเข้าเกมครั้งแรกที่รวดเร็วไวขึ้นจาก SSD แค่นั้นเอง
Lost Levels หรือด่านที่ถูกตัดออกไปจากต้นฉบับจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ฉากเหตุการณ์ นั่นคือ Jackson Party งานเลี้ยงรื่นเริงสังสรรค์กับผู้คนในเมืองแจ๊คสันช่วงต้นเกม, Sewers ฉากแก้ปริศนาหาทางไปต่อในท่อระบายน้ำที่มีกับดักน่าตกใจรอคอยคุณอยู่ และสุดท้าย Boar Hunt ฉากไล่ล่าหมูป่าในละแวกใกล้เคียงกับทุ่งฟาร์มช่วงท้ายเกมที่แอบแฝงแง่คิดบางอย่าง ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นฉากเหตุการณ์เสริมสอดแทรกที่ไม่มีสาระสำคัญอะไรต่อเนื้อเรื่องหลัก แถมด่านที่ทีมงานหยิบยกมาให้พวกเราเล่นมันก็เป็นเวอร์ชันพรีอัลฟ่าที่ยังพัฒนาไม่เสร็จดีนัก แอนิเมชั่นยังไม่เนี้ยบ เสียงพากย์ NPC ก็ขาดหาย เกมเพลย์มีแค่เดินสำรวจปฏิสัมพันธ์ยังไม่มีระบบต่อสู้ที่ดูจริงจังเป็นชิ้นเป็นอัน ดังนั้นจงอย่าคาดหวังว่าปริมาณและคุณภาพมันจะเหมือนกับเนื้อหาเสริม DLC โดยด่านที่ถูกลืมทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าว เราสามารถเข้าเล่นมันได้ทันทีผ่านหน้าเมนู 'เบื้องหลังการสร้าง' ไม่จำเป็นต้องทนเหนื่อยเริ่มเล่นแคมเปญทั้งหมดใหม่เพียงเพื่อลิ้มรสประสบการณ์ไซด์สตอรี่เศษเนื้อติดกระดูกเหล่านี้
Guitar Free Play อีกหนึ่งโหมดใหม่ที่ถูกบรรจุยัดใส่เข้ามาในเกมภาครีมาสเตอร์ และคอนเซปต์ของมันก็ตรงตามชื่อเลย กับการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ดีดกีตาร์บรรเลงเพลงอย่างอิสระเสรีไปเรื่อยเปื่อยแบบไร้จุดหมายปราศจากเงื่อนไขหรือเวลาจำกัดใดๆ แค่จิ้มเลือกตัวละครโปรด เลือกกีตาร์ที่ชอบ เลือกบรรยากาศฉากหลังที่ถูกใจ แล้วก็นั่งเล่นดนตรีสดอยู่ตรงนั้นไปจนกว่าเราจะเบื่อหรือหมดอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งก็คล้ายกับการเล่นกีตาร์ในโลกความเป็นจริง เกมเมอร์ที่จะเพลิดเพลินเอ็นจอยไปกับโหมดนี้ได้คุณจำเป็นต้องรู้จักแต่ละคอร์ดแต่ละคีย์เป็นอย่างดีและมีทักษะพื้นฐานในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มาก่อนบ้างแล้วในระดับหนึ่ง
หัวใจสำคัญที่แท้ทรูของเกม The Last of Us Part II Remastered จริงๆแล้วมันอยู่ตรงที่ No Return โหมดสุ่มอุปสรรคสไตล์โร้กไลต์เล่นซ้ำได้ไม่รู้จบซะมากกว่า เพราะเพียงโหมดนี้โหมดเดียวก็ทำให้เราหายโกรธทีมงานคลายความสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงต้องชาร์จเงินเพิ่มกับเกมที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากจากเดิม โดยกฎกติกาการเล่นมันจะสุ่มสถานการณ์ขึ้นมาให้เราเคลียร์ เช่น กำจัดศัตรูมนุษย์ฝ่าย WLF ที่บุกมาเป็นระลอกหรือเอาตัวรอดจากพวกติดเชื้อ บางสถานการณ์เราอาจต้องบุกลุยเดี่ยว บางครั้งอาจมีเพื่อนคู่หู AI ยื่นมือมาช่วยเหลือ ทั้งหมดอยู่ที่การตัดสินใจเลือกของผู้เล่นว่าจะไปเส้นทางสายบนหรือสายล่าง แม็พๆหนึ่งใช้เวลาเล่นประมาณไม่เกิน 10 นาที ถ้าเลือกยิงบู๊สู้ปะทะกันตรงๆก็จะไวแปบเดียวจบ แต่ถ้าเลือกลอบเร้นย่องฆ่าทีละตัวก็อาจเสียเวลานานหน่อย เมื่อเล่นผ่านเราก็จะได้ทรัพยากรของรางวัลเป็นเหรียญเงินเอาไว้ซื้ออาวุธใหม่ๆ ได้อะไหล่ชิ้นส่วนไปแต่งปืน หรืออาหารเสริมไว้ปลดล็อคสกิลความสามารถต่างๆ ถือเป็นการอัปเกรดตัวละครให้แข็งแกร่งพร้อมเผชิญอุปสรรคในด่านถัดไปที่จะค่อยๆยากและน่าท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในแม็พสุดท้ายที่เราจะต้องดวลสู้กับบอสแบบตัวต่อตัว หากเราโค่นมันลงได้สำเร็จก็เป็นอันจบหนึ่งรอบโดยสมบูรณ์
สำหรับตัวละครที่มีให้เลือกเล่นในโหมดนี้ ทั้งหมดล้วนเป็นตัวละครที่เคยปรากฏอยู่ในโหมดเนื้อเรื่องแคมเปญทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละตัวต่างก็มีอาวุธและความถนัดช่ำชองไม่เหมือนกัน เช่น เอลลี่ สามารถใช้ปืนพกเก็บเสียงแถมได้รับปริมาณอาหารเสริมมากกว่าคนอื่น, แอ๊บบี้ สาวใหญ่ร่างถึกผู้มีสกิลฮีลเลือดตัวเองในทุกครั้งที่สังหารศัตรูหรือโจมตีระยะประชิด, ดีน่า สาวผิวคล้ำผู้มาพร้อมสกิลคราฟต์ของสองเท่า, เลฟ เจ้าหนูหัวโล้นผู้ถนัดลอบเร้นใช้ธนูยิงปลิดชีพจากระยะไกล หรือจะเป็น ยาร่า สาวน้อยพลังมิตรภาพผู้มีคู่หูอย่าง เลฟ คอยติดสอยห้อยตามไปไหนไปกันตลอดเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีตัวละครอื่นๆอย่าง เมล, โจเอล, ทอมมี่, เจสซี่ และ แมนนี่ มาให้เล่นอีกด้วยนะ เพียงแต่ต้องเล่นปลดล็อคทำตามเงื่อนไขที่ตัวเกมกำหนดเสียก่อน ซึ่งเงื่อนไขในการปลดล็อคนั้นเราสามารถกดเข้าไปดูตรวจสอบได้ที่หน้าเมนู 'ความท้าทาย' ที่จะบอกรายละเอียดเอาไว้มากมาย ไล่ตั้งแต่การปลดล็อคตัวละคร ลวดลายสกินพิเศษ บอสลับใหม่ กติกาการเล่นใหม่ ไปจนถึงตัวเลือกการปรับแต่งเกมที่จะช่วยให้การเล่นเคลียร์ในแต่ละรอบของเราแลดูมีสีสันไม่จำเจ
ส่วนใครที่เป็นผู้เล่นหน้าเก่าเคยซื้อตัวเกม The Last of Us Part II เวอร์ชัน PS4 มาแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องควักเงินจ่ายราคาเต็ม เพียงแค่เลือกอัปเกรดเพิ่มเงินอีก 10 เหรียญหรือประมาณ 400 บาท คุณก็สามารถเข้าถึงเนื้อหาคอนเทนต์ใหม่ๆในเวอร์ชันรีมาสเตอร์ได้ทันที เทียบกันแล้วเราว่ามันคุ้มค่าและค่อนข้างแฟร์กับผู้บริโภคนะโดยเฉพาะโหมดโนรีเทิร์นที่ทำให้ผู้เล่นยังคงติดหนึบอินหลงใหลอยู่กับเกมต่อแม้ว่าจะเล่นแคมเปญจบแล้ว อารมณ์คล้ายโหมดเสริม Mercenaries ของเกม Resident Evil 4 ประมาณนั้นเลยแหละ แต่แอบห่วงกังวลอยู่เรื่องเดียวที่อาจทำให้เกมเมอร์หลายคนรู้สึกขุ่นข้องหมองใจ นั่นคือการตั้งชื่อเกมที่ห้อยท้ายด้วยคำว่า “รีมาสเตอร์” ซึ่งในมุมองของเราการหยิบเอาเกมเดิมมาเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่หรืออะไรที่ถูกตัดไปควรเปลี่ยนใช้คำว่า Director's Cut พ่วงท้ายน่าจะเหมาะสมกว่า
“เมื่อลองพิจารณาคิดทบทวนไปมาถึงต้นตอจุดกำเนิดของโหมด No Return เราเชื่อว่ามันอาจมีความเกี่ยวเนื่องอะไรบางอย่างกับตัวโปรเจกต์ The Last of Us Online ที่ถูกประกาศยกเลิกไปกลางคัน เพราะเท่าที่ลองจับโหมดนี้มามันช่างเหมาะกับการเล่นร่วมกันหลายคนแบบ Co-op เอามากๆ ถึงแม้ในท้ายที่สุดแล้วมันจะไม่ได้ออกมาเป็นอย่างที่พวกเราคาดหวัง และด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เรารู้สึกราวกับว่าตัวเกม The Last of Us Part II Remastered นั้นจุดประสงค์จริงๆของมันอาจไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อมุ่งหมายฟันกำไร แต่คล้ายเป็นสิ่งของแทนใจแทนคำกล่าวขอโทษของทีมงาน Naughty Dog ผู้ไม่สามารถชุบชีวิตฟื้นคืนประสบการณ์การเล่นสไตล์ Factions กลับมาให้เหล่าแฟนๆซีรีส์ได้สัมผัสกันอีกแล้วในชาติภพนี้”

เกมเพลย์ 10
เนื้อเรื่อง 10
กราฟิก 9
ความสดใหม่        7
ความคุ้มค่า 8
ภาพรวม 8.8

ข้อดี: เรื่องราวการแก้แค้นที่แฝงแง่คิดคติธรรม, เกมเพลย์เอาตัวรอดยอดเยี่ยมยืนหนึ่ง, แปลภาษาไทยมาให้ครบไม่มีผิดพลาดตกหล่น, ลูกเล่นจอย DualSense ช่วยเสริมสร้างความสมจริง, โหมดสุ่มสไตล์โร้กไลต์สนุกแปลกใหม่ทุกรอบเล่นซ้ำได้ไม่มีเบื่อ, ค่อนข้างคุ้มค่าสำหรับคนที่เลือกอัปเกรดเพิ่มเงินอีกนิดหน่อย และถึงแม้เป็นเกมเก่าจากยุค PS4 แต่งานภาพยังคงสวยสะดุดตาไม่น้อยหน้าเกมใหม่ๆในปัจจุบันข้อเสีย: คุณภาพกราฟิกไม่แตกต่างจากเวอร์ชันต้นฉบับ, สามด่านที่ถูกตัดยังพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์เหมือนใส่มาให้ดูเฉยๆ, มีเพียงโหมดโนรีเทิร์นเท่านั้นที่พอเป็นตัวชูโรงหลัก และจะมันส์กว่านี้มากหากได้เล่นออนไลน์ Co-op กับคนอื่น Sony Interactive Entertainment (SIE)
*ทีมงานผู้จัดการเกม เรียนเชิญผู้อ่านทุกท่านร่วมเป็นแฟนเพจ ManagerGame ทางเฟซบุ๊กเพื่อเพิ่มช่องทางการรับรู้ข่าวสารวงการเกมครับ*

คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เรตเกม PEGI: 18 เหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเพื่อปลุกกระแสต้อนรับซีรีส์หนังคนแสดงซีซั่นสองที่จะออกฉายในช่วงปลายปี 2024 แถมต้องเว้นช่วงระยะห่างจากเวอร์ชันพีซีมิให้ออกชิดติดกันจนเกินไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องราวของสาววัยรุ่นเลือดร้อนถึงได้ถูกคืนชีพลงบนคอนโซลรุ่นใหม่อย่างไวหลังผ่านไปแค่ 3 ปี สำหรับ The Last of Us Part II Remastered ชื่อก็บ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่านี่มิใช่การรีเมคสร้างใหม่แต่อย่างใด ดังนั้นในส่วนของเนื้อหาแคมเปญหลักจะยังคงเหมือนกับตัวเกมภาคต้นฉบับทุกประการ โดยเรื่องราวคร่าวๆของมันจะติดตามการผจญภัยของ “เอลลี่” (Ellie) ตัวละครเอกหญิงผู้โตเป็นสาวเต็มวัยที่ต้องออกเดินทางตามล่าล้างแค้นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้ก่อเหตุโศกนาฏกรรมร้ายแรงจนเธอและเหล่าแฟนเกมทั่วโลกมิอาจทนรับมันได้ จึงบีบบังคับให้เธอต้องมุ่งเดินไปบนถนนเส้นทางแห่งความเคียดแค้นชิงชังจองเวรจองกรรมชนิดผีไม่ต้องเผาเงาไม่ต้องเหยียบ ยากที่จะรู้จักกับคำว่า 'ให้อภัย'อย่างที่เกริ่นไป เนื่องจากตัวเกมภาคต้นฉบับออกมาในช่วงท้ายปลายยุค เพลย์สเตชัน 4 ในขณะที่ตัวเกมภาครีมาสเตอร์นั้นเพิ่งออกมาในช่วงต้นยุค เพลย์สเตชัน 5 สิ่งที่พอรู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่คงมีเพียงลูกเล่นฟีเจอร์บนตัวคอนโทรลเลอร์อย่าง Adaptive Trigger แรงต้านเวลาเหนี่ยวไก และระบบสั่น Haptic Feedback ที่ถูกใส่เพิ่มเข้ามาในฉากคัตซีน-เกมเพลย์ บวกกับฉากโหลดในช่วงสตาร์ทเข้าเกมครั้งแรกที่รวดเร็วไวขึ้นจาก SSD แค่นั้นเองLost Levels หรือด่านที่ถูกตัดออกไปจากต้นฉบับจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ฉากเหตุการณ์ นั่นคือ Jackson Party งานเลี้ยงรื่นเริงสังสรรค์กับผู้คนในเมืองแจ๊คสันช่วงต้นเกม, Sewers…